เกษตรรามัน มอบใบรับรองแหล่งผลิตพืช (Q) ให้กับเกษตรกรตำบลกาลอ
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 นางอารีนี มะทา เกษตรอำเภอรามัน มอบหมายให้ นางศศลักษณ์ มหัศนียนนท์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ ร่วมกับ อาสาสมัครเกษตรและสหกรณ์ประจำตำบลกาลอ มอบใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (Q) ให้กับเกษตรกรจำนวน 10 ราย ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 และ 4 ต.กาลอ อ.รามัน จ.ยะลา เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
เกษตรรามัน จัดทำแปลงเรียนรู้การจัดการศัตรูพืชตระกูลปาล์ม(แมลงดำหนามในมะพร้าว)
วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 นางอารีนี มะทา เกษตรอำเภอรามัน มอบหมายให้เจ้าหน้าทีสำนักงานเกษตรอำเภอรามันพร้อมด้วยเจ้าหน้าทีสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา(กลุ่มอารักขาพืช) ลงพื้นทีทำการทดสอบการป้องกันและกำจัดแมลงดำหนาม แยกเป็นแถวๆละ1 วิธีการ จากนั้นสุ่มคัดเลือกตัวแทนในการเก็บข้อมูลวิธีการละ3 ต้น ดังนี้
แถวที 1 ใช้สารเคมีอิมิดาโคลพริต ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มของต้นมะพร้าว
แถวที 2 ใช้แนฟทาลีน(ลูกเหม็น)ใส่ถุงๆละ5ลูก นำไปแขวนทียอดมะพร้าว
แถวที 3 ใช้สารไดโนฟูแรน ขุดหลุม 4 หลุมๆละ10กรัมต่อต้น
แถวที 4 ใช้สารสะเดา ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มของต้นมะพร้าว
แถวที 5 ใช้วิธีกล โดยการเก็บไข่ หนอน และตัวเต็มวัยไปเผาทำลาย
แถวที 6 ใช้เชื้อราเมตาไร้เซียม ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม เน้นทียอดให้ชุ่ม
แถวที 7_8 ใช้วิธีควบคุม โดยการปล่อยตามธรรมชาติ
ณ.แปลงเกษตรกร ม.5 ต.เกะรอ อ.รามัน จ.ยะลา
วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 นางอารีนี มะทา เกษตรอำเภอรามัน มอบหมายให้เจ้าหน้าทีสำนักงานเกษตรอำเภอรามันพร้อมด้วยเจ้าหน้าทีสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา(กลุ่มอารักขาพืช) ลงพื้นทีทำการทดสอบการป้องกันและกำจัดแมลงดำหนาม แยกเป็นแถวๆละ1 วิธีการ จากนั้นสุ่มคัดเลือกตัวแทนในการเก็บข้อมูลวิธีการละ3 ต้น ดังนี้
แถวที 1 ใช้สารเคมีอิมิดาโคลพริต ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มของต้นมะพร้าว
แถวที 2 ใช้แนฟทาลีน(ลูกเหม็น)ใส่ถุงๆละ5ลูก นำไปแขวนทียอดมะพร้าว
แถวที 3 ใช้สารไดโนฟูแรน ขุดหลุม 4 หลุมๆละ10กรัมต่อต้น
แถวที 4 ใช้สารสะเดา ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่มของต้นมะพร้าว
แถวที 5 ใช้วิธีกล โดยการเก็บไข่ หนอน และตัวเต็มวัยไปเผาทำลาย
แถวที 6 ใช้เชื้อราเมตาไร้เซียม ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม เน้นทียอดให้ชุ่ม
แถวที 7_8 ใช้วิธีควบคุม โดยการปล่อยตามธรรมชาติ
ณ.แปลงเกษตรกร ม.5 ต.เกะรอ อ.รามัน จ.ยะลา